สถาบันวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตรธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ

“แนวทางแก้ปัญหาความยากจนและหนี้สินเกษตรกร ควรจัดให้มีกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน โดยวิธีออมทรัพย์ร่วมกัน เพื่อสาธิตการบริหารจัดการเงินและการบัญชีแก่ชาวบ้าน ส่งเสริมการจัดตั้งร้านค้าสาธิตหมู่บ้าน เพื่อฝึกด้านการจัดการตลาด ควรริเริ่มทำธุรกิจชุมชนในหมู่บ้านให้เข้มแข็ง และ แพร่หลาย เพื่อพัฒนาสู่ ระบบหมู่บ้านสหกรณ์ ทั่วประเทศต่อไปในอนาคต”

ขอน้อมนำแนวพระราชทานฯ ใส่เกล้าฯ สู่การปฏิบัติ 5 ขั้น

ขั้น ที่ 1 จัดตั้ง “ธนาคารหมู่บ้าน”
ขั้น ที่ 2 สาธิตบริหารการเงิน-การบัญชี
ขั้น ที่ 3 จัดตั้ง “ร้านค้าสาธิตหมู่บ้าน”
ขั้น ที่ 4 ส่งเสริมเศรษฐกิจหมู่บ้านให้เข้มแข็ง
ขั้น ที่ 5 เพื่อพัฒนาสู่ “ระบบหมู่บ้านสหกรณ์”ทั่วราชอาณาจักร

ปรัชญาของระบบธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ
1. มีความเชื่อมั่นว่า เพียงเม็ดเงินเพียงปัจจัยเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ให้สัมฤทธิ์ผลแบบยั่งยืน ผลลัพธ์ที่ได้นอกจากเสียเงินช่วยเหลือไปแล้ว ยังจะสร้างนิสัยคนจนให้เสียไป กลายเป็นคนรอรับความช่วยเหลือ มิคิดช่วยตนเอง ปัญหาจึงมีแต่เพิ่มทวียิ่งๆขึ้น

2. มีความเชื่อมั่น การช่วยเหลือคนยากจนให้สัมฤทธิ์ผลแบบยั่งยืนและรู้จักจบสิ้น ต้องเริ่มจากการให้ความรู้ในการรู้จักประหยัดและออมทรัพย์ของตนเป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อน แม้จะเริ่มด้วยเม็ดเงินเพียงเล็กน้อยก่อนก็ตาม และเป็นการออมทรัพย์ร่วมกันระดับหมู่บ้านหรือชุมชน และเข้าไปให้ความรู้การบริหารจัดการเงินและการบัญชีเงินสดแบบง่ายๆก่อน แล้วจึงค่อยทยอยความช่วยเหลือเงินทุนสมทบเพิ่มขึ้นตามลำดับของความจำเป็น จะเป็นการช่วยเหลือที่ยั่งยืนและจะเป็นการแก้ปัญหาที่จบสิ้น คือให้ทั้งความรู้และเงินควบคู่กันไป

Press. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

Facebook
Twitter